|
พ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย ในพื้นที่โรงเรียนบ้านทุ่งต่อ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลทุ่งต่อ ตามมาตรการการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ซึ่งนำโดยยุงลาย เพื่อรองรับการเปิดภาคเรียนใหม่ |
 |
วันที่ 14 พฤษภาคม 2568
นายสมัคร ตันกุลโรจน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งต่อ พร้อมเจ้าหน้าที่อบต. และเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ทุ่งต่อ ลงพื้นที่พ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย ในพื้นที่โรงเรียนบ้านทุ่งต่อ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลทุ่งต่อ ตามมาตรการการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ซึ่งนำโดยยุงลาย เพื่อรองรับการเปิดภาคเรียนใหม่
.
เนื่องจาก ในช่วงนี้เริ่มเข้าสู่ช่วงหน้าฝน ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้ ขอความร่วมมือประชาชนทุกครัวเรือนทำลายแหล่งพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องจนเป็นนิสัย โดยการใช้มาตรการ 5 ป. 1 ข. ปราบยุงลายอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย
1.ปิด ปิดภาชนะน้ำกิน น้ำใช้ให้มิดชิดหลังการตักใช้น้ำทุกครั้ง เพื่อป้องกันยุงลายลงไปวางไข่
2.เปลี่ยน เปลี่ยนน้ำในแจกัน ถังเก็บน้ำ ทุก 7 วัน เพื่อตัดวงจรลูกน้ำที่จะกลายเป็นยุง
3.ปล่อย ปล่อยปลากินลูกน้ำ ในภาชนะใส่น้ำถาวร เช่น อ่างบัว ถังซีเมนต์เก็บน้ำขนาดใหญ่
4.ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ปลอดโปร่ง โล่ง สะอาด ลมพัดผ่าน ไม่เป็นที่เกาะพักของยุงลาย
5.ปฏิบัติเป็นประจำจนเป็นนิสัย
1 ข. ขจัดไข่ยุงลาย เนื่องจากยุงลายจะไข่ตามผนังภาชนะ เหนือผิวน้ำประมาณ 1-2 เซนติเมตร ไข่ใหม่จะมีสีขาวนวล ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และดำ ลักษณะเป็นแพเรียงติดกัน หากมีน้ำมาเติมจนท่วมหลังไข่ จะใช้เวลา 1-2 วันที่ฟักตัวเป็นลูกน้ำ แต่หากไม่มีน้ำมาเติมจนท่วมถึงก็จะแห้งติดผนังภาชนะอย่างนั้นได้นานเป็นปี และเมื่อมีน้ำมาท่วมเมื่อใด ไข่ก็พร้อมจะแตกตัวเป็นลูกน้ำภายในได้ใน 30 นาที จึงจำเป็นต้องมีการขัดไข่ยุงลายในภาชนะด้วย โดยใช้ใยขัดล้าง หรือแปรงชนิดนุ่มช่วยในการขัดล้าง และทิ้งน้ำที่ขัดล้างนั้นบนพื้นดินเพื่อให้ไข่แห้งตายไปไม่ควรทิ้งลงท่อระบายน้ำ ซึ่งอาจจะเป็นแหล่งน้ำใสนิ่งทำให้ไข่บางส่วนรอดและเจริญเป็นลูกน้ำและยุงลายได้อีก |
|
|
|